วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


Past Simple Tense
6.1 ประโยค Past Simple Tense เชิงบอกเล่า
โครงสร้าง : Subject + Verb 2
( ประธาน + กริยาช่องที่ 2 )
ตัวอย่าง : 1.He walked to school yesterday. ( เขาเดินมาโรงเรียนเมื่อวานนี้ )
2. They played volleyball last week. ( เขาทั้งหลายเล่นวอลเลย์บอลสัปดาห์ที่แล้ว )
6.2 ประโยค Past Simple Tense เชิงปฏิเสธ
เมื่อต้องการแต่งประโยคใน Past Simple Tense ให้มีความหมายเชิงปฏิเสธ ทำได้ด้วยการใช้ Verb to do
ช่องที่ 2 คือ did มาช่วย และเติม not ข้างหลัง มีโครงสร้างของประโยคดังนี้
โครงสร้าง : Subject + did + not + Verb 1
( ประธาน + did + not + กริยาช่องที่ 1 )
ตัวอย่าง : 1. He did not ( didn’t ) walk to school yesterday. ( เขาไม่ได้เดินมาโรงเรียนเมื่อวานนี้ )
2. They did not play volleyball last week. ( เขาทั้งหลายไม่ได้เล่นวอลเลย์บอลสัปดาห์ที่แล้ว )
ข้อสังเกต : เมื่อนำ did มาใช้ในประโยคแล้วต้องเปลี่ยนกริยาช่องที่ 2 ให้เป็นกริยาช่องที่ 1 ด้วย
6.3 ประโยค Past Simple Tense เชิงคำถามและการตอบ
เมื่อต้องการแต่งประโยคใน Past Simple Tense ให้มีความหมายเชิงคำถาม ทำได้ด้วยการนำ did มาวางไว้หน้าประโยค
และตอบด้วย Yes หรือ No ซึ่งมีโครงสร้างของประโยคดังนี้
โครงสร้าง : Did + Subject + Verb 1
( Did + ประธาน + กริยาช่องที่ 1 )
ตัวอย่าง : 1. Did he walk to school yesterday ?( เมื่อวานนี้เขาเดินมาโรงเรียนใช่หรือไม่ )
- Yes, he did. ( ใช่ เขาเดินมา )
- No, he didn’t. ( ไม่เขาไม่ได้เดินมา )
2. Did they play volleyball last week ?( เขาทั้งหลายเล่นวอลเลย์บอลสัปดาห์ที่แล้วใช่หรือไม่ )
- Yes, they did. ( ใช่ เขาทั้งหลายเล่น )
- No, they didn’t . ( ไม่ เขาทั้งหลายไม่ได้เล่น )
6.4 หลักการใช้ Past Simple Tense
1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต ซึ่งมักจะมีคำ กลุ่มคำ หรืออนุประโยคต่อไปนี้อยู่ในประโยค
คำ
กลุ่มคำ
อนุประโยค
ago
last night
when he was young
once
last year
when he was five years old
yesterday
yesterday morning
when I lived in Tokyo
 
during the war
 
เช่น 1. I lived in Chaing mai 3 years ago. ( ฉันอยู่ที่เชียงใหม่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เดี๋ยวนี้ไม่ได้อยู่แล้ว )
2. His father died during the war. ( พ่อของเขาตายระหว่างสงคราม )
3. He learned English when he was young. ( เขาเรียนภาษาอังกฤษเมื่อเขาเป็นเด็ก )
6.5 หลักการเติม ed ที่คำกริยา
1. กริยาที่ลงท้ายด้วย e ให้เติม d ได้เลย เช่น
love - loved = รัก
move - move = เคลื่อน
hope - hoped = หวัง
2. กริยาที่ลงท้าย ด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น I แล้วเติม ed เช่น
cry - cried = ร้องไห้
try - tried = พยายาม
marry - married = แต่งงาน
ข้อยกเว้น ถ้าหน้า y เป็นสระ ใหเติม ed ได้เลย เช่น
play - played = เล่น
stay - stayed = พัก , อาศัย
enjoy - enjoyed = สนุก
obey - obeyed = เชื่อฟัง
3. กริยาที่มีพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed เช่น
plan - planned = วางแผน
stop - stopped = หยุด
beg - begged = ขอร้อง
4. กริยาที่มี 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้น มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียว ให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายอีก 1 ตัว แล้วเติม ed เช่น
concur - concurred = ตกลง, เห็นด้วย
occur - occurred = เกิดขึ้น
refer - referred = อ้างถึง
permit - permitted = อนุญาต
ข้อยกเว้น ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องเติมพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น
cover - covered = ปกคลุม
open - opened = เปิด
5. นอกจากกฏที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อต้องการให้เป็นช่อง 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น
walk - walked = เดิน
start - started = เริ่ม
worked - worked = ทำงาน

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


Verb  to  be ( is ,  am ,  are)

    Verb  to  be  มีหลักการใช้  ดังนี้
1.      ถ้าเป็นกริยาสำคัญในประโยค  มีความหมายว่า  เป็น  อยู่  คือ
2.      ใช้วางข้างหน้า กลุ่มคำ   adjective  ( คำคุณศัพท์ )
3.      ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้างของประโยค Continuous ( ประโยคที่มี กริยา ing )
4.      ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้างของประโยค Passive  Voice
ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ )
หลักการใช้กับประธานในประโยค
            1.  ถ้าประธานที่เป็นเอกพจน์บุรุษที่  3  ซึ่งได้แก่  He  She  It  หรือ ชื่อคนคนเดียว
     สัตว์ตัวเดียว  และสิ่งของอันเดียวที่ถูกกล่าวถึง  Verb  to  be  ที่ใช้  คือ  is   เช่น
                        *He  is  a  teacher.                               *Sam  is  a  singer
                        *She  is  in  the  room.                         *My  father   is  sleeping.
                        *It  is  a  dog.                                       *The  pencil  is  on  the  table
            2.   ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่  1  (  ผู้พูดคนเดียว ซึ่งได้แก่  I  Verb  to  be 
ที่ใช้  คือ  am
                        *I  am  a  student.                                *  I  am  under  the  table.
            3.  ประธานเป็นพหูพจน์ทุกบุรุษ  ซึ่งได้แก่  We  You  They   หรือ ชื่อคนหลาย 
     สัตว์หลายตัว และสิ่งของหลายอันที่ถูกกล่าวถึง  Verb  to  be  ที่ใช้  คือ  are  เช่น
                        *We  are  nurses.                    *My  father  and  I  are  in  the  room.
                        *They  are  policemen.           *Suda and  her  friends  are  under  the  tree.
                        *You  are  very  good.            *The  players  are  in  the  playground.